รางจืด



พืชสมุนไพรรางจืด



รางจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia Linn.) เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆหรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

 ไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเรียวแหลม กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ส่วนดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ การปลูกเลี้ยง นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา ให้เลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ให้มีตาติดอยู่2-3 ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า

ใบ : ใบเดี่ยวแยกออกจากลำต้นเป็นคู่ตรงบริเวณข้อ มีสีเขียวเข้ม รูปยาวรี หรือรูปไข่ ขอบขนาดกว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือยักรูปหัวใจ ขอบเรียบหรือยักตื้น ใบมี 5 เส้น ออกจากฐานใบเดียวกัน

ดอก : ดอกช่อ ช่อละ 3-4 ดอก สีม่วงอมฟ้าหรือน้ำเงิน ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ห้อยลงมีใบ ประดับสีเขียว ประกลีบของดอกมีลักษณะเป็นถ้วยรูปจานแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรตัวผู้ 5 อัน

ผล : รูปทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1 เซนติเมตร ส่วนปลายสอบแหลมเป็นจงอยยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อแก่ตกออกเป็น 2 ซีกจากจงอยส่วนบน

สรรพคุณ รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้




**หน้าแรก**

0 ความคิดเห็น: