พืชสมุนไพร

สมุนไพรแก้ปัญหาไขมันพอกตับ

สมุนไพรแก้ปัญหาไขมันพอกตับ



สมุนไพรที่อาจช่วยลดไขมันพอกตับ
ขมิ้นชัน: มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ที่ช่วยลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยย่อยอาหาร
กระเทียม: มีสารอัลลิซิน (Allicin) ที่ช่วยลดไขมันในเลือด และช่วยย่อยอาหาร
รางจืด: มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ และช่วยล้างพิษ
บัวบก: มีสาร asiaticoside และ madecassoside ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ และช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับ
เห็ดหลินจือ: มีสาร beta-glucans ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดการอักเสบ

วิธีใช้สมุนไพร
ขมิ้นชัน: ชงผงขมิ้นชันกับน้ำร้อน ดื่มวันละ 2-3 แก้ว
กระเทียม: ทานกระเทียมสด 2-3 กลีบต่อวัน หรือทานอาหารเสริมกระเทียม
รางจืด: ต้มใบรางจืดกับน้ำ ดื่มวันละ 2-3 แก้ว
บัวบก: ทานบัวบกสด 1-2 ต้นต่อวัน หรือทานน้ำบัวบก
เห็ดหลินจือ: ชงชาเห็ดหลินจือ ดื่มวันละ 1-2 แก้ว


นอกจากการใช้สมุนไพรแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดไขมันพอกตับ ดังนี้
ควบคุมอาหาร: เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย ใยอาหารสูง และโปรตีนเพียงพอ
ออกกำลังกาย: อย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
ควบคุมน้ำหนัก: ให้ BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ
งดดื่มแอลกอฮอล์


สาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของไขมันในเนื้อตับเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับได้แก่:
โรคอ้วน: ความอ้วนหรือเป็นน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุหลักของการสะสมไขมันในตับ เนื่องจากมีการสะสมของไขมันในเนื้อตับมากเกินไป เนื่องจากการกินอาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการและขาดการออกกำลังกาย
โรคเบาหวาน: การเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานที่เกิดจากการดูดซึมอินซูลินที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ เนื่องจากอินซูลินไม่สามารถใช้งานได้อย่างเพียงพอทำให้ไขมันสะสมในตับ
การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีความพิษต่อตับ และมีผลในการเปลี่ยนแปลงแต่งตัวของเซลล์ตับ
การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง: การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับได้

โรคหัวใจและหลอดเลือด: บางครั้งการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสามารถทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับได้ โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะความเสี่ยงของโรคเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับได้
การใช้ยา: บางยาสามารถทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับได้ เช่น ยาภูมิคุ้มกัน เริ่มซึ่งไตรไซคลีร์เกอร์และยาควบคุมความดันโลหิต
อ่านต่อ »

สมุนไพรรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

สมุนไพรรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก



มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก บางชนิดได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อไปนี้เป็นสมุนไพรบางชนิดที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด:

สารสกัดจากเปลือกสน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่าสารสกัดจากเปลือกสนอาจช่วยชะลอหรือย้อนกลับการเจริญเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ สารประกอบในสารสกัดจากเปลือกสน Pycnogenol เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง.

ชาเขียว ชาเขียวเป็นแหล่งของ EGCG ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง การศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า EGCG สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้.

ขมิ้น ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันทั่วไปในอาหารอินเดีย มีสารประกอบที่เรียกว่า curcumin ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและต้านการอักเสบ Curcumin ได้รับการแสดงในการศึกษาในหลอดทดลองเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและทำให้เซลล์มะเร็งตาย.

ทับทิม ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้อาจช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ที่อาจนำไปสู่มะเร็ง การศึกษาในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่าน้ำทับทิมสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้.

เห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่ใช้ในยาจีนมาหลายศตวรรษ เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง และต้านการอักเสบ การศึกษาในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่าเห็ดหลินจือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้.

มะเขือเทศ ผลมะเขือเทศสุก มีไลโคปีนสูง ซึ่งทำหน้าที่ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมาก ลดอาการต่อมลูกหมาก และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก.

สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรใดๆ ชึ่งอาจมีผลข้างเคียงได้กับยาอื่นๆ ที่คุณกำลังทานอยู่ เพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อาจมีผลกระทบอาการข้างเคียงกับการรักษากับตัวยาที่ทานอยู่ได้.
อ่านต่อ »

ผักกะโสม(อ้มกบ)สรรพคุณ

ผักกะโสม(อ้มกบ)สรรพคุณ



ผักกะโสม หรือ อ้มกบ (ชื่อเรียกทางภาคเหนือหรือทางเชียงใหม่) ลักษณะเป็นต้นไม้ ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นแตกแขนงออกไปลักษณะสีน้ำตาลอมเขียวลักษณะอวบน้ำ ต้นที่ยังเล็กอยู่มีขนปกคลุมพอโตหรือแก่ขนจะหลุดร่วงไป ลำต้นสูงประมาณ 15-20 ซม. ใบ ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ปลายมน (คล้ายใบโหระพา) แต่ที่หลังใบจะมีขนปกคลุมและเป็นรอยย่น ขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-3 ซม. ยาว 5-6 ซม. สีเขียวจัด ก้านใบสั้น มีกลิ่นหอมคล้ายลูกกระวาน ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น ดอกสีน้ำเงินอมม่วงกลางดอกสีเหลือง ด้านบนมี 2 กลีบ ด้านล่าง 3 กลีบ ดอกเล็กประมาณ 8 มม. ไม่มีก้านดอก เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบขึ้นอยู่ตามริมคู และชอบดินที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด และการปักชำ อ้มกบ จัดเป็นผักกับลาบที่อร่อยชนิดหนึ่งเนื่องจากมีกลิ่นหอมรสเย็น 

ผักกะโสม หรือ อ้มกบสรรพคุณ ทั้งใบและต้น ให้รสหอมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียว ระงับพิษโรค หัด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ ระงับความร้อน ขับเสมหะ แก้แน่นหน้าอก แก้ไอ แก้แน่นท้อง ปวดท้อง ลดอาการบวมน้ำ เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ ตำพอกรักษาบาดแผล ใบรสเย็น แก้ไข้พิษ ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ปวดศีรษะ
อ่านต่อ »

สาบแร้งสาบกาสรรพคุณ

สาบแร้งสาบกาสรรพคุณ



ต้นสาบแร้งสาบกาจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลําต้นมีลักษณตั้งตรง มักงอกรากที่โคนต้น สูง 15100 ซม. ขยึดมมีกลิ่นเหม็น ลําต้นและส่วนที่ยังอ่อนอยู่มี ขน ยาวปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ โคนใบรูปหัวใจกลม มนหรือแหลม ปลายใบแหลมหรือกลมมน มีขนยาวปกคลุมทั้ง สองด้าน กว้าง 15 ซม. ยาว 3-10 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีขาวหรือสีม่วงอ่อน ผลแห้ง ไม่แตก สรรพคุณของสาบแร้งสาบกา 
ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอใช้ รากและใบ เคี้ยวกินหรือ ต้มน้ําดื่ม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรค กระเพาะอาหาร แก้ไข้ ปวดศีรษะ ตําพอกหรือคั้นน้ําทา รักษา แผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด แก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่องหรือแมลง ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ําดื่ม แก้ไข้ ขับ ระดู ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ใบ คั้นน้ําดื่ม ช่วยให้อาเจียน ตําพอกแก้คัน หยอดตาแก้เจ็บ การทดลองในสัตว์พบว่าสาร สกัดแอลกอฮอล์และน้ําต้มทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ระงับความปวด
อ่านต่อ »

ขึัเหล็ก


ขึัเหล็ก

ขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ลักษณะ ดอก และ ใบ ของขี้เหล็ก ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกันมีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารขี้เหล็ก แม้อาจจะมีรสขม ออกเฝื่อน ๆ บ้าง แต่คุณค่าในขี้เหล็ก มีมากมายเลย เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
อ่านต่อ »

ส้มโอและสรรพคุณ


ส้มโอและสรรพคุณ


ส้มโอเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร กิ่งก้านมีขนมักมีหนามแหลม ใบประกอบมีใยย่อยใบเดียว เรียงสลับใบย่อยรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 ซม.ยาว 5-10 ซม. ท้องใบมีขนสั้นๆที่เส้นกลางใบ ก้านใบแผ่เป็นปีกคล้ายแผ่นใบ 
ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองทองตามสายพันธุ์ รูปทรงกลมหรือไข่กลับกว้าง เปลือกหนาประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร 
เมล็ดรวมกันอยู่ตรงแกนกลางของผล มีจำนวนตั้งแต่ 0-265 เมล็ด/ผล เมล็ดมีทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็กสุด เมล็ดมีรูปร่างแบน และผิวย่น เปลือกเมล็ดมีสีเขียวอมเหลือง และเป็นร่องลึก ขนาดเมล็ดกว้าง 0.6-1.2 เซนติเมตร ลำต้นมีทรงพุ่มบริเวณส่วนปลายของลำต้น ขนาดทรงพุ่มประมาณ 3-4 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา  

สรรพคุณส้มโอ เนื้อส้มโอช่วยในการขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า เปลือกส้มโอ เปลือกด้านนอกนำมาบดทารักษาแผล ใช้ทาแก้อาการคันตามผิวหนัง ใช้ทารักษาอาการปวดบวมจากแมลงกัดต่อย ใบส้มโอ ใบนำมาขยี้ทาระงับอาการปวดบวมจากแมลงกัดต่อย ใบนำมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นชา แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคลำไส้อักเสบ ช่วยขับเสมหะ
อ่านต่อ »

มะแว้งต้นและสรรพคุณ

มะแว้งต้นและสรรพคุณ 



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะแว้งต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะของลําต้นเล็กแข็ง ลําต้นมีหนาม สูง 1-1.5 - เปลือกต้นเรียบสีน้ําตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ลักษณะของใบเป็นรูปรี ขนาดเล็กกว่าใบมะเขือพวง ขอบใบหยักเว้าลึก ปลายใบแหลม ใบมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลาย โบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว ดอกออกเป็นกระจุก ออกตามบริเวณ ง่ามใบ และปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอก สีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลืองติดกันเป็นรูปกรวย เมื่อดอกร่วงโรยลงก็จะ ติดผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมเกลี้ยง มีขนาดเล็ก ผลอ่อน มีลายสีขาว แต่เมื่อแก่ หรือสุกผลจะมีสีแดง ผลมีรสขม ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจํานวนมาก 

สรรพคุณ ใช้ทั้งผลดิบและผลสุก นํามาเป็นยาขมใช้กินเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลดน้ําตาล ในเส้นเลือด ช่วยในการเจริญอาหาร รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้ไอ ใบใช้บํารุง ธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
อ่านต่อ »

มะยมและสรรพคุณ

มะยมและสรรพคุณ 



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 3-5 เมตร ลําต้นตั้งตรง เปลือกมีผิวขรุขระ แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะหักง่ายเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียง แบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อน ข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอกแยก เพศอยู่คนละต้น ต้นเพศผู้ออกดอกแล้วไม่ค่อยติดผล ส่วนต้นเพศเมียออกดอกแล้วติด ผลมาก ดอกขนาดเล็กจะออกเป็นช่อตามกิ่งไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงสีชมพู 4 กลีบ ผลเมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ําน้ํา เมล็ดรูปร่าง - กลม แข็ง สีน้ําตาลอ่อน 
สรรพคุณของมะยม รักษาผดผื่นคันตามผิวหนัง โดยใช้ราก 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ํา 10 ลิตร ต้มให้ เดือด 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่น ใช้แช่อาบ ควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ําซาวข้าว ทาวัน ละ 2-3 ครั้ง
ใบ  เป็นยาแก้ไอ บำรุงประสาท ขับเสมหะ แก้พิษไข้อีสุกอีใส ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียวรับประทานดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หัวต่าง ๆ แก้โรคหัดเหือด ต้มรวมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟือง อาบแก้ผื่นคัน พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง และฝีดาษ น้ำต้มใบดื่มพร้อมผลเป็นยาขับเหงื่อ 
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง โขลกรวมกับพริกไทยเป็นยาพอกแก้ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลัง น้ำต้มใบดื่มพร้อมกับผล เป็นยาขับเหงื่อ ผลรับประทานได้ทั้งดิบและสุก มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์เป็นกรด ใช้ทำแยมหรือเชื่อมก็ได้ เป็นยาฝาดสมาน แก้หลอดลมอักเสบ และขับปัสสาวะ
อ่านต่อ »